ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มะละกอฝรั่ง, ฝิ่นต้น
มะละกอฝรั่ง, ฝิ่นต้น
Jatropha multifida L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Euphorbiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Jatropha multifida L.
 
  ชื่อไทย มะละกอฝรั่ง, ฝิ่นต้น
 
  ชื่อท้องถิ่น ทิงเจอร์ต้น(คนเมือง), ว่านนพเก้า(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม ค่อนข้างอวบน้ำ หรือไม้ต้นขนาดเล็ก ผิวลำต้นเกลี้ยง สูงถึง 6 ม. มีน้ำยางสีขาว รากมีลักษณะเป็นหัว
ใบ ใบแบบก้นปิด รูปกลมแกมรูปไข่กว้าง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-35 ซม. แฉกแบบตีนนก มี (9-)11(-12) ส่วน แต่ละส่วนเป็นรูปเดี่ยวหรือหยักลึกแบบขนนก ก้านใบยาว 10-25(-35) ซม.
ดอก ออกเป็นช่อแน่นแบบช่อเชิงหลั่น ก้านช่อดอกยาวถึง 23 ซม. กลีบเลี้ยงในดอกเพศผู้รูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 1 มม. กลีบดอกแยกกัน ยาวประมาณ 5 มม. สีแดงสด เกสรเพศผู้ ท8 อัน ก้านเกสรแยกกัน กลีบดอกในดอกเพศเมียยาวถึง 9 มม. ยอดเกสรเพศเมียรูปกระจุก เป็น 2 พู
ผล แตกออกอย่างช้าๆ ไปจนถึงคล้ายผลเมล็ดเดียวแข็ง รูปไข่กลับกว้าง ยาวประมาณ 3 ซม. มี 3 พู แต่ละพูมีลักษณะเป็นสัน ผลสุกสีเหลืองเมล็ดยาว 1.7-2 ซม. สีเหลืองหม่น มีลายสีน้ำตาล มีจุกขั้วขนาดเล็ก [12]
 
  ใบ ใบ ใบแบบก้นปิด รูปกลมแกมรูปไข่กว้าง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-35 ซม. แฉกแบบตีนนก มี (9-)11(-12) ส่วน แต่ละส่วนเป็นรูปเดี่ยวหรือหยักลึกแบบขนนก ก้านใบยาว 10-25(-35) ซม.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อแน่นแบบช่อเชิงหลั่น ก้านช่อดอกยาวถึง 23 ซม. กลีบเลี้ยงในดอกเพศผู้รูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 1 มม. กลีบดอกแยกกัน ยาวประมาณ 5 มม. สีแดงสด เกสรเพศผู้ ท8 อัน ก้านเกสรแยกกัน กลีบดอกในดอกเพศเมียยาวถึง 9 มม. ยอดเกสรเพศเมียรูปกระจุก เป็น 2 พู
 
  ผล ผล แตกออกอย่างช้าๆ ไปจนถึงคล้ายผลเมล็ดเดียวแข็ง รูปไข่กลับกว้าง ยาวประมาณ 3 ซม. มี 3 พู แต่ละพูมีลักษณะเป็นสัน ผลสุกสีเหลืองเมล็ดยาว 1.7-2 ซม. สีเหลืองหม่น มีลายสีน้ำตาล มีจุกขั้วขนาดเล็ก [12]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - น้ำยาง ใช้ใส่แผลสดช่วยสมานแผล(เมี่ยน,คนเมือง)
น้ำยาง ใช้ทาแผลปากเปื่อย มีดบาด ช่วยให้แผลหายเร็ว(คนเมือง)
- ราก มีลักษณะคล้ายรากมันสำปะหลัง เผาไฟแล้วกินได้
ต้น ยางต้นใช้ทาแผลอักเสบเรื้อรัง
ใบ น้ำต้มใบกินเป็นยาถ่าย และสระผมแก้เหา
เมล็ด มีน้ำมันประมาณ 30% กินเป็นยาถ่ายอย่างแรง และทำให้อาเจียน แต่มีอันตรายมาก ถึงขนาดใช้เป็นยาเบื่อได้ จึงไม่นิยมใช้กัน หีบเอาน้ำมันได้ ใช้ทั้งภายในและภายนอก เป็นยาทำให้แท้งบุตร[6]
- เปลือกลำต้นมีรสฝาด นำมาปรุงเป็นยาแก้อาเจียน แก้ท้องเสีย แก้ปวดเบ่ง แก้ปวดเมื่อยตามข้อ แก้ลงแดง และเป็นยาคุมธาตุ เป็นต้น [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[12] โครงการทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2544. ทรัพยากรพืชในภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลำดับที่ 12(1) : พืชสมุนไพรและพืชพิษเล่ม 1 . สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง